วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บทที่ 2 ข้อมูล

ข้อมูล
     ข้อมูล  ( Data or raw data)  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ (fact)  ที่เกิดขึ้น ที่มีอยู่ในโลก ใช้แทนด้วยตัวเลข  ภาษา  หรือสัญลักษณ์ที่ยังไม่มีการปรุงแต่งหรือประมวลไดๆ )ถ้าเห็นคำว่าข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้และมีความหมายในตัวเอง
   สารสนเทศ  (Information)  หมายถึง  การนำเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้  มาผ่านกระบวนการ (process)  เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ  หรือหมายถึงข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์  หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้
         คุณสมบัติของข้อมูล
                  การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ  หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลทีจะนำมาใช้ประโยชน์  องค์การจำเป็นต้องลงทุน  ทั้งในด้านตัวข้อมูล  เครื่องจักร  และอูปกรณ์ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับระบบ  เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้   และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง  สามารถดำเนินการได้ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน  ดังนั้นการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสาสนเทศที่ดี  ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน  ดังนี้
                1. ความถูกต้อง  หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก  ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงและหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์  ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ  และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้  โครงสร้างข้อมูลที่่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำที่่สุด   โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่   มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักรการออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้ด้วย
            2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน  การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้   มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว  ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ  มีการรออกแบบระบบการเรียกค้น  และรายงานตามความต้องการของผู้ใช้
           3. ความสมบูรณ์  ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย  ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
        4. ความชัดเจนและกะทัดรัด  การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมาก  จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัด  สื่อความหมายได้  มีการใช้รหัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
       5. ความสอดคล้อง  ความต้องการเป็นเรื่องที่่สำคัญ  ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์กร   ดูแลสภาพการใช้ข้อมูล   ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
ลักษณะของสารสนเทศที่นำเสนอ
       1. ข้อมูลตัวเลข  (numerical data)  ได้แก่  กลุ่มตัวเลขทั้งที่เป็นจำนวนเต็ม   ทศนิยม หรือจำนวนจริง ข้อมูลลักษณะนี้ใช้กันในการศึกษา  คำนวณทางวิทยาศาสตร์  การพยากรอากาศ  เศรษฐกิจ  ข้อมูลดัชนีหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
      2. ข้อมูลตัวอักขระ  (alphabetical data)  ได้แก่  ตัวอักษรที่ใช้ในการเขียนภาษาต่าง ๆ ทุกภาษา  เช่น  ตัวอักษร A-Z ,ก-ฮ,สระ,วรรณยุกต์  รวมทั้งสัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถครอบคลุมสารสนเทศที่ใช้กันทั่วไปในทุกวงการ   ทั้งการศึกษา   ค้นคว้า   วิจัย   วิทยาศาสตร์  และธุรกิจการพานิชย์เป็นต้น
      3. ข้อมูลกราฟฟิก (Graphic  data)  ได้แก่   ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นรูปภาพ  รูปจำลองรูปวาด การวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขแลละแสดงผลในรูปของแผนผัง แผนภูมิ กราฟต่าง ๆ
     4. ข้อมูลเสียง (Voice Data) ได้แก่ ข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารด้วยภาษาพูด เสียงร้อง เสียงกริ่ง เสียงจากวิทยุ ฯลฯ โดยทั่วไปมักจะใช้ข้อมูลหลายประเภทควบคู่กันไปในการสื่อสารและปฏิบัติงาน เช่น   ใช้ข้อมูลเสียงในการสื่อสาร พูดคุย ประชุมและสั่งงาน เขียนบันทึกข้อความในการสั่งการและสื่อสาร และอ่านข้อมูลทั้งที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เป็นต้น
    เทคนิคการนำเสนอสารสนเทศ ในการนำเสนอสารสนเทศ ให้น่าสนใจสามารถดึงดูดความสนใจของใช้ให้เกิดความประทับใจ และง่ายต่อการนำไปใช้งานนั้น มีเทคนิคที่ช่วยให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพ ดังนี้
      1. ลดหรือตัดข้อมูลข่าวสารที่ไม่จำเป็นออก นำเสนอเฉพาะสิ่งที่เป็นแก่นสารสาระสำคัญเท่านั้น
      2. จัดวางให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ระมัดระวังในการจัดรูปแบบ มีการเว้นวรรคตอน และจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม ทั้งบนหน้าจอและหน้ากระดาษ จัดรูปแบบตามลักษณะ คุณสมบัติของข้อมูลที่นำเสนอ เช่น นำเสนอตัวเลข ในรูปแบบตาราง รูปกราฟ สรุปแสดงในรูปแบบของการเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วน อัตราร้อยละ ซึ่งจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
       3. ใช้สีสันมาช่วยในการนำเสนอ การเน้นข้อมูลที่สำคัญ ด้วยสีต่าง ๆ จะทำให้น่าสนใจ มองเห็นได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ถ้าใช้สีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการสับสนดูยาก ไม่สบายตา
      4. การใช้กราฟฟิกมาช่วยในการนำเสนอ รูปภาพหรือกราฟฟิกนั้นสามารถอธิบายความหมายของข้อมูลต่าง ๆ แทนข้อความได้มากมายโดยใช้เวลาอันสั้น ช่วยลดเวลาในการอ่านและเก็บรายละเอียดหรือทำให้เข้าใจเนื้อหาสาระได้ในระยะเวลาอันสั้น
รูปแบบของสารสนเทศ
         สารสนเทศจะต้องมีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบเพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้งานและการเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องจัดแสดงสารสนเทศที่มีอยู่ในรูปของกระดาษเท่านั้น แต่อาจอยู่ในรูปแบบของสื่ออื่นๆอีก ซึ่งแต่ละแบบมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้
          1. สิ่งพิมพ์  เป็นสื่อที่แพร่หลายและเป็นที่คุ้นเคย  อาจอยู่ในรูปของหนังสือ   วารสาร   แบบฟอร์ม   เอกสารรายงานหรืออาจอยู่ในรูปแบบบันทึก   เช่น  บันทึกส่วนตัว  บันทึกการปฏิบัติการในห้องทดลอง
      ข้อดีของสิ่งตีพิมพ์
                   1.    ผู้ใช้คุ้นเคยกับการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
                   2.    มีระบบการผลิตเผยแพร่ที่กว้างขวางทั่วโลก  การจัดพิมพ์ทำได้สะดวก
                   3.    มีราคาถูก
                   4.    ผู้ใช้ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษในการอ่าน  การเขียน
    ข้อจำกัดของสิ่งพิมพ์
                   1.    ไม่คงทนถาวร เมื่อเวลาผ่านไปอาจกรอบและเสียหาย
                   2.    การจัดส่งแพง  เมื่อเทียบกับวัสดุย่อส่วนและสื่ออิเล็กทรอนิกแล้ว เพราะมีน้ำหนักมาก  การจัดส่งต้องใช้ระบบดั้งเดิม  นั่นคือระบบไปรษณีย์หรือบริการจัดส่งสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
       2. วัสดุย่อส่วน (microform)  ซึ่งมักเป็นแผ่นฟิล์มขนาด  16 มม.  หรือ  35 มม. อาจเป็นลักษณะฟิล์มม้วน (Microfilm)  หรืเป็นแผ่น  (microfiche)  ก็ได้  ในแผ่นฟิล์มจะเป็นรูปถ่ายย่อของเอกสสารคือเป็นหน้าหนังสือ   จัดเรียงกันไปตามลำดับจากหน้าแรกไปจนถึงหน้าสุดท้าย  แผ่นฟิล์มหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุเอกสารได้หลายหน้า  ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนในการย่อ   การอ่านจะต้องใช้ร่วมกับเครื่องอ่านโดยเฉพาะ
   ข้อดีของวัสดุย่อส่วน
                1.    ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บกว่าในรูปของกระดาษมาก
                2.    มีความคงทนถาวร  หากมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธี  สามารถจัดเก็บได้นานถึงประมาณ 100 ปี จึงนิยมจัดเก็บสำเนาต้นฉบับสิ่งพิมพ์  เช่น หนังสือพิมพ์ซึ่งใช้กระดาษที่มีคุณภาพต่ำมาผลิต
               3.    สะดวกในการจัดส่งเพราะมีน้ำหนักเบา กะทัดรัด
ข้อจำกัดของวัสดุย่อส่วน
                1.    ต้องใช้กับเครื่องอ่านโดยเฉพาะหากไม่มีเครื่องอ่านจะอ่านไม่ได้
                2.    การอ่านจะต้องเลื่อนจากหน้าต้นไปตามลำดับจนถึงหน้าที่ต้องการ   หากเป็นไมโครฟิล์มที่มีลักษณะเป็นม้วน  ผู้อ่านจะต้องเริ่มไล่จากหน้าหนึ่งไปจนถึงหน้าที่ต้องการ  หากเป็นชนิดที่เป็นแผ่น  อาจเริ่มจากหน้าที่ต้นแถวไล่ไปตามลำดับแถว  จึงช้าและไม่สะดวก
                3.    ไม่เหมาะกับการนั่งอ่านเป็นเวลานานๆ เพราะผู้อ่านจะต้องเพ่งอ่านทำให้เกิดอาการเมื่อยตาหรือปวดศีรษะ
       วัสดุย่อส่วนมักจะใช้กับสารสนเทศที่มีการใช้งานไม่มาก จะใช้เฉพาะที่จำเป็น ที่จะต้องจัดเก็บไว้อย่างถาวรและเพื่อการศึกษาอ้างอิง  เช่น  เอกสารจดหมายเหตุ  วารสารฉบับเก่าซึ่งมีจำนวนมาก
           3. สื่อเทปเสียงและวีดิทัศน์   หมายถึง  สื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเสียง   และภาพเคลื่อนไหว   สามารถใช้บันทึกข้อมูลได้อย่างสะดวก   ข้อมูลที่จัดเก็บจะเรียงลำดับกันไปกันนับแต่ต้นจนจบ   หากต้องการเข้าถึงข้อมูลตรงกลางจะต้องเริ่มค้นนับตั้งแต่ต้นไล่ไปจนถึงตำแหน่งของข้อมูลที่ต้องการ
ข้อดีของสื่อเทปเสียงและวีดีทัศน์
           1.    สะดวกในการใช้งาน ทั้งในการบันทึก ปรับปรุง แก้ไข และใช้งาน
           2.    สามารถจัดเก็บข้อมูลที่เป็นทั้งเสียงและภาพเคลื่อนไหวไว้ได้
           3.    มีราคาถูกทั้งเทปและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน
 ข้อจำกัดของสื่อเทปเสียงและวีดีทัศน์
         1.    ไม่คงทนถาวร  โดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี
         2.    การเข้าถึงข้อมูลไม่สะดวกและเสียเวลา คือจะต้องเริ่มจากต้นไปตามลำดับ
          3.    การจัดเก็บ  จะต้องระมัดระวังไม่ให้สื่อเหล่านี้เข้าใกล้บริเวณสนามแม่เหล็ก  เพราะจะทำให้ข้อมูลเสียหายและไม่สามรถกู้คืนมาได้
         4. สื่ออิเล็ทรอนิกส์  (electronic publication)  หมายถึง  การจัดพิมพ์สารสนเทศที่อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์อ่านได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น